ยาฆ่าหญ้า
วิธีการเลือกใช้ยากำจัดศัตรูพืชให้ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและตัวเราเอง หลายคนที่ทำการเกษตรหรือปลูกต้นไม้แน่นอนว่าจะต้องมีวัชพืชหรือศัตรูพืชเข้ามารบกวนก่อให้เกิดผลเสียต่อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของเรา หลายคนจึงจำเป็นที่จะต้องหาตัวช่วยในการกำจัดสิ่งเหล่านี้ เพื่อไม่ให้มาทำร้ายพืชที่เราเพาะปลูก แต่ว่าสารเคมีส่วนใหญ่มักจะก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมรวมไปถึงร่างกายของผู้ใช้ ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการเลือกใช้ ยาฆ่าหญ้า ที่ช่วยกำจัดศัตรูพืชและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและตัวของผู้ใช้
วิธีการเลือกใช้ ยาฆ่าหญ้า ให้ปลอดภัย และถูกวิธี
§ ใช้สารที่ผลิตมาจากธรรมชาติและไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตัวผู้ใช้และต่อดิน ไม่มีสารตกค้างหลังจากที่ใช้งานแล้ว สามารถย่อยสลายไปตามธรรมชาติได้ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักจะทำมาจากเชื้อราชนิดต่าง ๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโรคของพืช
§ ผ่านการทดสอบว่าปลอดภัยจากการตรวจพิษวิทยา (LD50) อย่างถูกต้องว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้สิ่งแวดล้อมหรือสัตว์
§ ได้การรับรองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ ORGANIC จาก IFOAM และ ORGANIC THAILAND
§ ผ่านการขึ้นทะเบียนจากกรมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างถูกต้องครบถ้วน
§ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนออกจำหน่ายทุกครั้ง
§ การผลิตจะต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO
เมื่อเราตรวจสอบ จนมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาใช้ถูกต้องและปลอดภัยแล้ว ก่อนนำมาใช้เราก็ศึกษาถึงการใช้ยากำจัดหญ้า และ ศัตรูพืชให้ถูกต้องอีกด้วย ซึ่งวิธีการมีดังนี้
1. ควรเข้าใจก่อนว่าจุดประสงค์ในการใช้งานของเราคืออะไรและจึงเลือกยาฆ่าหญ้าให้เหมาะสมกับชนิดของศัตรูพืชที่เราต้องการกำจัด เพราะว่าผลิตภัณฑ์กำจัดหญ้ามีหลากหลายชนิด ดังนั้นควรอ่านฉลากและสรรพคุณอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะเลือกใช้
2. ควรสอบถามผู้รู้ถึงความแตกต่างของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดว่ามีสารตกค้างมากน้อยแค่ไหนและสามารถสลายตัวตามธรรมชาติได้หรือไม่
3. ปฏิบัติตามส่วนผสมของฉลากยาอย่างเคร่งครัดไม่ควรใช้มากหรือน้อยจนเกินไปเพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียได้
4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสยาฆ่าหญ้าโดยตรงควรสวมถุงมือหรือหาอุปกรณ์ใช้ในการหยิบหรือจับเพื่อความปลอดภัยมากที่สุด
5. ไม่ควรใช้ยากำจัดหญ้า และ ศัตรูพืชมากจนเกินไปเพราะจะทำให้เกิดการสะสมของยาได้ควรใช้อย่างพอดีตามความจำเป็น
6. ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมในการที่จะหยิบจับยาฆ่าหญ้ามาใช้เพราะอาจจะเกิดการผิดพลาดหรือซื้อของปลอมแปลงมาได้จะทำให้เกิดผลเสียต่อพืชและสภาพแวดล้อมของเรา
7. หากมีความจำเป็นจะต้องฉีดหรือพ่นยาด้วยตนเอง ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันตัวไม่ว่าจะเป็น หน้ากาก ถุงมือ หรือเสื้อผ้าที่ค่อนข้างมิดชิดเพื่อป้องกันสารเคมีจะปนเปื้อนตัวเราได้ ดังนั้นจึงต้องป้องกันตัวอย่างมิดชิดมากที่สุด
8. เมื่อผสมยาแล้วควรใช้ให้หมดในทุก ๆ ครั้งและควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมต่อพื้นที่
9. หากยาที่ผสมไว้เหลือ ควรเทเก็บในภาชนะที่มิดชิดและเหมาะสมไม่ควรทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะจะทำให้ เสื่อม ประสิทธิภาพลง
10. หลังจากที่ฉีดยาเสร็จใหม่ ๆ ไม่ควรให้ผู้อื่นเข้ามาในพื้นที่นั้นเพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้
11. เมื่อพ่นยาเสร็จเรียบร้อยแล้วควรรีบถอดเสื้อผ้าชุดที่ใช้ในการพ่นยาออก และอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดรวมไปถึงนำเสื้อผ้าที่ใส่ไปซักเพื่อป้องกันสารตกค้างที่อาจติดมากับเสื้อผ้าของเรา
12. หลังจากใช้งานยาเรียบร้อยแล้ว ควรหาที่เก็บให้ห่างไกลจากแสงแดดและห่างไกลจากเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยง รวมไปถึงสถานที่ที่มีผู้คนอาศัยพลุกพล่าน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
13. ห้ามใช้ปากในการเป่าหรือดูดหัวลมของท่อที่ใช้ในการฉีดยา
14. ไม่ควรยืนฉีดยาในตำแหน่งใต้ลมเพราะจะทำให้ละอองของยาเร็วมาโดนตัวเราได้
15. ไม่ควรทานอาหารหรือดื่มน้ำในขณะที่มีการใช้ยากำจัดศัตรูพืช เพราะอาจเกิดการปนเปื้อนไปกับอาหารที่เรากินก็ได้
16. หากเมื่อฉีดยาไปแล้วศัตรูพืชเกิดการดื้อยาควรปรับเปลี่ยนไปใช้ยาสูตรใหม่ ๆ
17. ไม่ควรฉีดบ่อยเกินกว่าที่ฉลากของยาฆ่าหญ้าระบุไว้
นี่ก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการเลือกผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในการกำจัดศัตรูพืชมาใช้เพราะสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญและค่อนข้างอันตราย ดังนั้นจึงควรพิถีพิถันในการเลือกเพราะหากเลือกไม่ดีอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ถึงชีวิตเลยทีเดียว หวังว่าทุกคนจะปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
